อบจ.นศ เตรียมกู้เงิน 200 ล้าน ดำเนินการก่อสร้าง 8 แห่ง คืนทุนแล้วจะมอบให้ชุมชนดูแลผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดการความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้า กล่าวภายหลัง การฝึกอบรมหลักสูตรช่างไฟฟ้าพลังงานน้ำชุมชน ในโครงการจัดการความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยการสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดขึ้น ณ โรงแรมทวินโลตัสนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นความร่วมมือกันจัดระหว่าง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยชีวิต ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพปัญหาพลังงาน เป็นปัญหาใหญ่ และได้มีการหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่มีเจตนารมณ์ในการสร้างความมั่นคงเรื่องไฟฟ้า และสำรวจพบว่าภาคใต้มีแหล่งพลังงานน้ำที่สำคัญ และมีศักยภาพที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ จำนวนมาก จึงได้เริ่มดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้เป็นช่วงการดำเนินงานระยะที่ 2 ดำเนินการระหว่างปี 2552-2554 โดยมีเป้าหมายที่จะหาทางออกเรื่องพลังงาน โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่ โดยมีความสอดคล้องและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เนื่องจากในการผลิตกระแสไฟฟ้าต้องใช้พลังงานจากน้ำตก ซึ่งน้ำตกจะมีมากเพียงพอได้ก็ต้องมีป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ ขณะที่ไฟฟ้าผู้ที่ได้ประโยชน์คือชุมชน ดังนั้นชุมชนต้องดูแลป่าต้นน้ำด้วย ในพื้นที่สวนยาง ได้มีการวิจัยโดยนำวัสดุอื่นมาผลิตเป็นถ่ายอัดแงใช้แทนฟืน โดยไม่ก่อมลพิษ ลดการใช้พลังงาน ส่วนน้ำเสียนำไปทำไบโอแก๊ส ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ที่สำคัญ โครงการนี้เน้นการสร้างเครือข่ายของประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำ โดยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอนาคตของชาติ โดยขณะนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน พบว่า 12 แห่งที่ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการผลิต และจะมีการออกแบบพิมพ์เขียวเพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปต่อยอดแสวงหาแหล่งทุนมาดำเนินการต่อไป ผศ.ดร.จิตติ ยังได้กล่าวต่อไปว่า ในพื้นที่ดำเนินการภาคใต้ตอนบน 12 แห่งนั้น พื้นที่ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดคือ บ้านคลองเรือ จังหวัดชุมพร ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้ประสานงานกับการไฟฟ้าให้สนับสนุนแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ส่วนระบบการจัดส่งระบบไฟฟ้าให้ชุมชนดำเนินการเอง และอีกแห่งคือ ที่ชุมชนเก้ากอ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งจะมีการใช้เครื่องจักรที่ออกแบบและผลิตโดยวิศวกรชาวไทย นับเป็นการดำเนินกิจกรรมที่เน้นเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ตามด้วยศักยภาพ เทคโนโลโย และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะโลกร้อนที่ทุกคนค่อนข้างตระหนักและให้ความสำคัญ ในส่วนของการลงทุนหลังจากมีการออกแบบและประเมินราคา พบว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 4-6 ปี ล่าสุดจากข้อมูลพบว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ที่มีศักยภาพจำนวน 46 แห่ง อบจ.นครศรีธรรมราชให้ความสนใจสนับสนุนการดำเนินงาน โดยจะขอกู้เงินจำนวน 200 ล้านบาทดำเนินการ 8 แห่งในครั้งแรก และเมื่อคืนทุนเรียบร้อยแล้วจะส่งคืนให้ชุมชนเข้าไปบริหารจัดการต่อไป
ข้อมูลจาก :: จิรา วงศ์สวัสดิ์ สวท. นครศรีธรรมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น